โรคของมะหมาที่มากับลมหนาว

จริงอยู่ว่าฤดูหนาวของบ้านเราอาจไม่หนาวมากและนานเหมือนเมื่อก่อน แต่พอจะหนาวขึ้นมาก็หนาวจับใจ บางช่วงก็ร้อนๆ หนาวๆ ทำเอาคนเราไม่สบายเป็นว่าเล่น แล้วเหล่ามะหมาล่ะ ฤดูหนาวมีโรคอะไรที่เราต้องค่อยระวังกันบ้าง เพราะหากมะหมาเกิดไม่สบายขึ้นมาก็อาจอันตรายถึงชีวิตได้เลยนะจย๊าาา !

1. โรคหัดสุนัข
– เกิดจากเชื้อไวรัส เข้าสู่ร่างกาย
– สามารถติดต่อได้ทางสารคัดหลั่งต่างๆ เช่น น้ำลาย น้ำมูก อุจจาระ ปัสสาวะ และยังติดต่อผ่านอากาศ การหายใจ

–อาการ–
มีไข้สูง เกิดขึ้นในสัปดาห์แรกหลังติดเชื้อ มีอาการซึม กินอาหารน้อยลง อาเจียน ท้องเสีย หายใจลำบาก มีน้ำมูก ขี้ตา ไอ ปอดบวม ตาอักเสบ กล้ามเนื้อกระตุกโดยเฉพาะปากและขา เดินเซ ขาอ่อนแรง บริเวณจมูกและฝ่าเท้าจะหนาตัวขึ้น มีตุ่มหนองตามหน้าท้อง และในรายที่อาการรุนแรง ก็จะมีอาการทางประสาทได้ เช่น ชัก หรือเป็นอัมพาตได้ และอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้เลยจย้าาา !

–การป้องกัน–
พามะหมาไปฉีดวัคซีนให้ครบตามโปรแกรมและไม่อยู่ใกล้มะหมาที่ติดเชื้อ

–การรักษา–
ไม่มียารักษา ทำได้เพียงประคับประคองอาการไป แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับคุณหมอ ว่าจะจ่ายยาชนิดใดมาช่วยประคองอาการ มะหมาที่ติดเชื้อไวรัสหัด จะเริ่มแพร่เชื้อหลังจาก 7 วันหลังจากติดเชื้อ และเริ่มป่วยรุนแรงหลังติดเชื้อ 2-3 สัปดาห์ หากรอดจากอาการป่วยรุนแรงแรงช่วง 3 สัปดาห์นี้ไปได้ ถือว่าน้องรอดแล้ว แต่อาจมีอาการทางระบบประสาทตามมา

–ข้อควรระวัง–
เมื่อเราสัมผัสกับมะหมาที่มีเชื้อควรสวมถุงมือและล้างมือให้สะอาดก่อนสัมผัสมะหมาตัวอื่น ๆ โดยเฉพาะลูกมะหมา มะหมาป่วย มะหมาท้อง เพราะจะรับเชื้อได้ง่าย

2. โรคหวัด (หลอดลมอักเสบ)
– เกิดได้จากทั้งเชื้อไวรัสและแบคทีเรีย
– สามารถติดต่อได้ทางระบบทางเดินหายใจ

–อาการ–
มะหมาจะมีอาการไอ โดยอาจจะไอแห้ง ๆ หรือาจจะมีเสมหะปนก็ได้ มีขี้ตา ตาอักเสบ มีน้ำมูกใส ๆ และอาจมีน้ำมูกข้นสีเขียวเนื่องจากติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน หากมีอาการรุนแรงจะมีไข้ ซึม เบื่ออาหาร ปอดบวม หายใจลำบาก จนถึงขั้นเสียชีวิต

–การป้องกัน–
ปกติลูกมะหมาจะมีภูมิคุ้มกันที่ได้รับจากนมแม่มะหมาอยู่แล้ว ซึ่งสามารถป้องกันได้ถึงอายุ 3-4 สัปดาห์ แต่ถ้ามะหมาไม่ได้รับนมแม่อย่างเพียงพอควรพาน้องไปฉีดวัคซีนสำหรับโรคหลอดลมอักเสบ น้องทำได้ตั้งแต่อายุ 4-6 สัปดาห์

–การรักษา–
หากมะหมาเป็นหวัดธรรมดา อาการไม่ร้ายแรงมาก ปกติจะหายเองได้ไม่เกิน 7 วัน แต่หากมีอาการน่าเป็นห่วง ต้องรีบพาไปหาหมอ เพราะอาจไม่ได้เป็นแค่โรคหวัดนะจย้ะ !

–ข้อควรระวัง–
เชื้อ Borditella bronchoseptica นี้สามารถติดต่อสู่คนได้ โดยเฉพาะกลุ่มเด็ก ผู้สู.อายุ และผู้ป่วยระบบภูมิคุ้มกันบกพร่อง ควรต้องระวังเป็นพิเศษ ซึ่งต้องหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับมะหมาที่ป่วยโดยเด็ดขาด

3. ภาวะอุณหภูมิร่างกายต่ำ
– เกิดจากร่างกายของมะหมาไม่สามารถควบคุมอุณหภูมิร่างกายให้อยู่ในระดับปกติได้อีกต่อไปทำให้เกิดการกดการทำงานของระบบประสาทส่วนกลางและส่งผลถึงการทำงานของหัวใจและระบบไหลเวียนเลือด

–อาการ–
มะหมาจะนอนขดตัว สั่น เคลื่อนไหวได้เล็กน้อยหรือไม่เคลื่อนไหวเลย ไปจนถึงเหงือกซีด เหงือกม่วง หากปล่อยทิ้งไว้ อุณหภูมิร่างกายจะลดลงต่ำ หัวใจเต้นช้าลง ออกซิเจนในเลือดต่ำ และจะทำให้มะหมาเสียชีวิตได้

–การป้องกัน–
หลีกเลี่ยงให้น้องอยู่ในอาการที่เย็นเป็นเวลานาน โดยเฉพาะกลุ่มมะหมาแรกเกิดหรือสูงอายุ หากอากาศเย็นควรหาชุดมาใส่ให้น้องและหาที่นอนที่อุ่นๆ มีผ้าห่มหรือเบามารองนอนหรือเปิดไฟช่วยในตอนกลางคืน

–การรักษา–
มะหมาที่มีอุณหภูมิร่างกายต่ำต้องทำการรักษาจนกว่าอุณหภูมิร่างกายจะอยู่ระดับปกติ ในช่วงนี้ไม่ควรเคลื่อนไหวน้องเพื่อป้องกันการสูญเสียความร้อนและอาจเกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ หากอยู่ในระดับไม่รุ่นแรงอาจรักษาได้ด้วยการให้ความอบอุ่นด้วยผ้าห่ม หากอยู่ในระดับปานกลางจะต้องใช้การให้ความอบอุ่นและเพิ่มอุณหภูมิของร่างกายเช่นการให้ความร้อน โดยใช้แผ่นแปะความร้อนแต่ไม่ควรวางลงไปโดยตรงเพราะจะทำให้ผิดน้องไหมได้ และหากน้องอยู่ในระดับรุนแรงต้องพยายามเพิ่มความอบอุ่นให้กับร่างกายส่วนกลาง เช่น การสวนน้ำอุ่นหรือให้สารน้ำที่อุ่นแล้วทางหลอดเลือดดำ ซึ่งระดับนี้ควรพาน้องไปหาคุณหมอจะดีที่สุด

–ข้อควรระวัง–
ภาวะนี้มักเกิดเมื่อมะหมาอยู่ในสถานที่ที่หนาวมาก ๆ ในมะหมาที่เพิ่งเกิดอาจเกิดภาวะนี้ได้แม้จะอยู่ในสถานที่ที่อุณหภูมิปกติก็ตาม โดยเฉพาะมะหมาสายพันธุ์ขนาดตัวเล็ก เพราะน้องจะสูญเสียความร้อนผ่านทางผิวหนังได้ง่ายกว่ามะหมาพันธุ์ตัวใหญ่และที่มีอายุมากจย้าาา !

เอาล่ะ จากนี้เพื่อน ๆ ก็คงจะเตรียมตัวตั้งรับกับภัยมะหมาที่มาพร้อมกับลมหนาวที่เข้ามาเยือนได้ไม่มากก็น้อยนะจย๊ะ อาทิตย์หน้าปิงกี้จะพาแนนนี่มาพูดถึงโรคร้ายหน้าหนาวของมะแมวกันบ้าง อย่าลืมติดตามกันนะจย๊าาา !

Malcare WordPress Security